วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ดร. พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พระราชอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์"

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี" นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์แรก ที่ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่ “สยามบรมราชกุมารี” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

พระองค์มีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ได้นำมาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จากพระราชกรณียกิจในด้านศิลปวัฒนธรรมนี้ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” 

 นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ ซึ่งโครงการในระยะเริ่มต้นนั้น มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดาร และพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาราษฎร
ที่มาhttp://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/data_king_family/Prathep_01.htm

พระอัจฉริยภาพสมเด็จพระเทพ

  
      พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีน และทรงกำลังศึกษา ภาษาเยอรมัน และภาษาลาตินอีกด้วย ขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสอนภาษาไทยแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา โดยทรงอ่านวรรณคดีเรื่องต่างๆ พระราชทาน และทรงให้พระองค์ทรงคัดบทกลอนต่างๆ หลายตอน ทำให้พระองค์โปรดวิชาภาษาไทยตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ยังทรงสนพระทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย

เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาไทยนั้น พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งด้านหลักภาษา วรรณคดี และศิลปะไทย เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจำการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้ และเข้าพระทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้ นอกจากนี้ ยังทรงเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสแทนการเรียนเปียโน เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่มีอยู่ในตู้หนังสือมากกว่าการซ้อมเปียโน


ที่มาhttp://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/princess_maha_chakri_sirindhorn/03.html

พระราชกรณียกิจสมเด็จพระเทพ

พระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดาฯขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรี สิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชภารกิจสำคัญหลายประการ อาทิ ทรงเป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงเป็นองค์อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิสายใจไทย และทรงเป็นประธานมูลนิธิ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา” ซึ่งอุปการะการศึกษาของนักเรียนและนักศึกษาขาดแคลนทุนทรัพย์ ยังไม่รวมถึงโครงการพระราชดำริที่ทรงริเริ่มเพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนชาวไทยอีกจำนวนมากมาย



ที่มาhttps://www.google.co.th/webhp?sourceid=chrome-instant&ion=1&espv=2&es_th=1&ie=UTF-8#q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E&es_th=1

พระราชประวัติ

    




          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา
องค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา
กิติวัฒนาดุลโสภาคย
์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
พระราชวังดุสิต โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวาย
การประสูติ และทรงมีพระนามที่บรรดาข้าราชบริพารเรียกกันทั่วไปว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเริ่มการศึกษาระดับ
อนุบาลในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ ที่โรงเรียนจิตรลดา ในบริเวณพระตำหนัก
จิตรลดารโหฐาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๓ พระชันษาเศษ ทรงมีพระสหายร่วมชั้นเรียน
อีก ๒๐ คน ซึ่งมาจากบุตรหลานของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ตลอดจนมหาดเล็ก
ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้มาร่วมเรียนด้วยโดยปราศจากชั้นวรรณะ วิชาที่ทรงศึกษา
ในชั้นอนุบาลนี้ คือ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขคณิต และขับร้อง พระอาจารย์ที่ถวาย
พระอักษรขณะนั้นได้แก่ อาจารย์ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์, อาจารย์คุณหญิงอังกาบ
บุณยัษฐิติ และอาจารย์คุณหญิงสุนามัน ประนิช ทั้งนี้ปรากฎว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดโรงเรียน พระอาจารย์ และ
พระสหายเป็นอันดี 
ที่มาhttp://www.cad.go.th/50years/history1.html

เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน




สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  แบบอย่างความใฝ่รู้  รักการอ่าน


เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยทั่วกันว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดการอ่านเป็นที่ยิ่ง จนมีพระสมัญญาว่า “หนอนหนังสือ” การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ นั้น สถานที่หนึ่งที่มักเสด็จเสมอก็คือ ร้านหนังสือ
ความเป็นนักวิชาการที่มีความสนใจกว้างขวาง ความเป็นครูที่ดียิ่ง เป็นกวี และศิลปินในหลายแขนง ทำให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงมีหนังสือเล่มโปรดจำนวนมากหลากหลายประเภท ทั้งภาษา วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี การเขียนพู่กันจีน ศาสนา พฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอื่น ๆ
พระองค์เคยรับสั่งว่าข้อดีของหนังสือก็คือ ส่วนใหญ่มีราคาไม่แพง อ่านได้ทุกถิ่นที่ทุกเวลาตามที่เราปรารถนา หนังสือภาพที่สวยงามให้เราได้ชื่นชมกับสุนทรียะ ปัจจุบันแม้จะมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่หนังสือก็ยังมีความสำคัญอยู่
(นอกจากนั้นยังได้พระราชทานพระราชดำรัส เกี่ยวกับการอ่านและหนังสือ ซึ่ง ดร.สมเกียรติ ชอบผล ได้ประมวลสรุปสาระไว้ดังนี้

ที่มาhttp://www.thaibankmuseum.or.th/exhibition_view.php?topicID=6&detailID=76&page_no=1